ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการสร้างเครือข่ายและสังคมที่นำการออกแบบไปใช้เพื่อพัฒนา ร่วมกับ Chula Zero Waste สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ School of Design and Media, Nanyang Polytechnic ประเทศสิงคโปร์
ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มีวิสัยทัศน์ในการสร้างเครือข่ายและสังคมที่นำการออกแบบไปใช้เพื่อพัฒนา ร่วมกับ Chula Zero Waste สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ School of Design and Media, Nanyang Polytechnic ประเทศสิงคโปร์ (ภายใต้ทุนดำเนินงาน TEMASEK FOUNDATION SPECIALISTS’ COMMUNITY ACTION & LEADERSHIP EXCHANGE (SCALE) PROGRAMME – 2024/25 CYCLE) ร่วมมือกันจัดโครงการปฏิบัติการด้านการออกแบบอย่างยั่งยืน (Sustainable Design from Vision to Action) โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ส่งเสริมและนำการออกแบบเพื่อสร้างความตระหนักรู้ สร้างความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย โดยกิจกรรมจะประกอบไปด้วย การลงพื้นที่เก็บข้อมูล การให้ความรู้และการเวิร์คชอปด้านการออกแบบ รวมถึงไปถึงการผลิตผลงานต้นแบบเพื่อทดลองใช้จริง และนิทรรศการผลงานต้นแบบ โครงการนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 12 เมษายน 2568 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกรุงเทพมหานคร
ในระหว่างวันที่ 2 – 15 มีนาคม 2568 ตัวแทนนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาเรขศิลป์ นิทรรศการศิลป์ และแฟชั่นและสิ่งทอ ภาควิชานฤมิตศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จำนวน 15 คน พร้อมกับอาจารย์ ดร.นภัสมล จันทร์ภิบาล และ อาจารย์ ดร.สรัล ตั้งตรงสิทธิ์ ได้เดินทางไปยังประเทศสิงคโปร์ เพื่อร่วมกันเวิร์คชอปเพื่อหาแนวทางการพัฒนาและต่อยอดโครงการ ZERO WASTE ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในช่วงเดือนเมษายน 2568 นักศึกษาจาก School of Design and Media, Nanyang Polytechnic ประเทศสิงคโปร์จะเดินทางมาร่วมกิจกรรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลารวม 2 สัปดาห์ เพื่อนำผลงานมาทดลองใช้จริง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อไป