
นิทรรศการออนไลน์ แสร้งเสมือนจริง บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู
จัดทำโดย FAAMAI Digital Arts Hub
ศิลปิน: ปรเมษฐ์ จิตทักษะ
ภัณฑารักษ์: อ.ดร. ให้แสง ชวนะลิขิกร และ พิรุณมาศ ขจรเดชากุล
จัดแสดงวันที่ 29 มีนาคม – 30 เมษายน 2564 (ขยายเวลาจัดแสดง)
ดูนิทรรศการออนไลน์ ที่นี่
ชมกิจกรรมนำชมพร้อมเสวนาร่วมกับศิลปินและภัณฑรักษ์ ที่นี่
(For English please scroll down.)
ในทุก ๆ เมือง จะประกอบไปด้วยชุมชนขนาดเล็กจำนวนมากที่มีรูปแบบแตกต่างกันออกไป จากหนังสือ “การบริหารงานพัฒนาชนบท” โดย ไพรัตน์ เตชะรินทร์ เขาได้กล่าวถึงชุมชนที่เป็นส่วนประกอบของ 3 สิ่ง ได้แก่ ภูมิศาสตร์ ผู้คน และปฏิสัมพันธ์ที่มีต่อกัน เพื่อพูดถึงรูปแบบความแตกต่างนี้ เมื่อพูดถึงชุมชนในชนบท องค์ประกอบทั้งสามนี้อาจเทียบไม่ได้กับชุมชนในเมืองหรือชุมชนชานเมือง ชีวิตของผู้คนขึ้นอยู่กับทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งมีอิทธิพลต่อวิถีการดำรงชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น เช่น ความเชื่อและพิธีกรรม อย่างไรก็ตามในชุมชนเมืองผู้คนไม่ได้แค่ผูกติดอยู่กับพื้นที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ แต่กับเมืองทั้งเมือง ผู้คนที่อาศัยในพื้นที่หนึ่ง อาจจะไม่มีการใช้ชีวิตและประกอบอาชีพในพื้นที่นั้น ๆ และผู้คนในชุมชนเดียวกันอาจไม่ได้มีความสนใจร่วมกันเลยก็ได้
กรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2325 และเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่มีการวางผังเมืองที่ชัดเจน ด้วยเหตุนี้ชุมชนเมืองอย่างกรุงเทพมหานครที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วนี้ จึงมีพื้นที่ที่ไม่ได้เกิดการพัฒนาไปพร้อม ๆ กับการขยายตัวของเมือง ทำให้เกิดชุมชนที่พัฒนาไม่ทันเมืองและยังคงมีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
สามย่านเป็นพื้นที่ที่ผู้คนเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มากว่า 60 ปี อาจเรียกได้ว่าเป็น “ชุมชนสามย่าน” เนื่องจากผู้คนอาศัยเติบโตและทำงานที่นั่นมาหลายชั่วอายุคน พวกเขาแบ่งปันภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกัน แต่แตกต่างจากชุมชนอื่น ๆ ในด้านการเป็นเจ้าของพื้นที่ สามย่านเป็นพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งหมายความว่าทุกคนในพื้นที่นั้นไม่ได้เป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่พวกเขาอาศัยหรือทำงานอยู่ ดังนั้นเมื่อพื้นที่ได้รับการพัฒนา ชุมชนเมืองย่อมเปลี่ยนไป ค่าครองชีพต่างๆ จึงสูงขึ้น ต้นทุนในการค้าขายแบบดั้งเดิมบางส่วนอาจไม่สามารถปรับตัวได้
เราไม่ได้กล่าวว่าการพัฒนานี้สะท้อนระบบทุนนิยมที่โหดร้าย เพราะเกิดขึ้นจากความจำเป็นและเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ประสบผลสำเร็จ โดยได้รับขนานนามว่า สามย่านเป็นหนึ่งในย่านเจ๋งที่สุดในโลกในปี พ.ศ. 2563 อย่างไรก็ตาม การพัฒนาย่อมนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง ผู้ที่ต้องดำเนินธุรกิจ พร้อมไปกับการดำเนินชีวิตในพื้นที่ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป แต่คนบางกลุ่มที่ไม่สามารถปรับตัวตามการพัฒนาของพื้นที่แห่งนี้ได้ก็จำเป็นจะต้องขยับขยายตามเส้นทางของแต่ละคน ซึ่งถือเป็น สัจธรรมของการเปลี่ยนแปลงเพื่อนำไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีกว่า
ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิษย์เก่าคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศิลปินผู้สร้าง นิทรรศการแสร้งเสมือนจริง บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมูนี้ อาศัยอยู่ในชุมชนสามย่านมานานกว่า 20 ปี และย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นในที่สุด เขาได้เห็นและสัมผัสการพัฒนาอย่างรวดเร็วของชุมชนสามย่านจากประสบการณ์ตรง การเปลี่ยนแปลงจากเก่าสู่ใหม่กับความทรงจำที่ต้องเลือนไป สำหรับงานศิลปะชิ้นนี้ ปรเมษฐ์ จิตทักษะ จะพาทุกคนเดินย้อนกลับไปตามเส้นทางแห่งกาลเวลา สู่บ้านที่ได้รับการปรับแต่งในสามย่านซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินที่มีรูปทรงเหมือนสี่เหลี่ยมคางหมู บ้านหกชั้นหลังนี้มีความผสมผสานองค์ประกอบของความจริงและความฝัน สู่มุมมองและการนำเสนอของศิลปิน
เมื่อมองแวบแรกงานชิ้นนี้อาจดูเหมือนเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ทว่ามันได้เจาะลึกลงไปในความร่วมสมัย โดยอธิบายถึงชุมชนเล็ก ๆ ของสามย่านและการพัฒนาส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้อยู่อาศัยในฐานะปัจเจกบุคคลอย่างไร จากนั้นจึงเปรียบเทียบสิ่งนี้กับ “กรุงเทพฯ” พื้นที่ที่เรียกว่า “มหานคร” นอกจากนี้ นิทรรศการแสร้งเสมือนจริง บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู ยังใช้แนวคิดของ “ดินแดนที่สมบูรณ์แบบ (Utopia)” ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานที่ไม่ได้มาจากจินตนาการของศิลปินอย่างเดียว แต่เกิดจากความทรงจำอันแสนสุขที่ครั้งหนึ่งศิลปินเคยมี จากมุมมองของภัณฑารักษ์นี่คือแนวคิดของดินแดนในอุดมคติในความคิดของคนจำนวนมากซึ่งเป็นเอกเทศเฉพาะบุคคล หาใช่แนวความคิดส่วนรวม
ทำไมถึงต้องเป็นสามย่าน?
นิทรรศการแสร้งเสมือนจริง บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานโดยการร่วมมือกันของศิลปินและศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) ซึ่งเป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ของสามย่านกับการพัฒนาชุมชน ในโครงการนี้ FAAMAI มีพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ในสามย่าน เมื่อพิจารณาถึงชุมชนสามย่านและความสัมพันธ์ของสามย่านและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การร่วมมือกันสร้างสรรค์ผลงานนี้จึงเป็นเป้าหมายหลักในการจัดนิทรรศการครั้งนี้
นิทรรศการแสร้งเสมือนจริงนี้ เป็นการขยายขอบเขตของนิทรรศการเสมือนจริง (virtual reality exhibition, VR) ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากความเฟื่องฟูของเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของ COVID-19 ในขณะที่นิทรรศการเสมือนจริงมุ่งที่นำเสนอสิ่งที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด นิทรรศการแสร้งเสมือนจริงนี้นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้สู่จินตนาการ สร้างสรรค์ผ่านกระบวนการทางดิจิทัล ซึ่งนำพาผู้ชมไปสู่ความไม่คุ้นเคยและการบิดเบือน เมื่อเข้าไปสู่นิทรรศการ จากห้องหนึ่งสู่ห้องหนึ่ง ประสบการณ์อาจจะคล้าย ๆ ถูกดึงไปสู่เกมส์แต่มีองค์ประกอบของเสียงและภาพแห่งความจริงสอดแทรกอยู่ ก่อให้เกิดคำถามมากมายขึ้น
เกี่ยวกับศิลปิน
ปรเมษฐ์ จิตทักษะ (กรุงเทพ, ประเทศไทย) จบการศึกษาจาก คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสาขา ภาพถ่าย ได้รับรางวัลชนะเลิศ สาขาภาพถ่าย ของ ยุวศิลปินไทย (Young Thai Artist Award 2018) โครงการ มูลนิธิเอสซีจี (SCG FOUNDATION) อีกทั้งเป็นผู้เข้ารอบสุดท้ายที่ได้รับเลือกแสดงผลงานในระดับนานาชาติ นิทรรศการ Singapore Young Talent Programme 2019 ณ Affordable Art Fair Singapore ที่ประเทศสิงค์โปร์ รวมไปถึงได้แสดงผลงานในประเทศไทยและระดับนานาชาติ ปัจจุบันปรเมษฐ์สอนศิลปะหลากหลายแขนงให้แก่สถาบันการศึกษาในกรุงเทพฯ
The House on Trapezoid Land – A Visual Unreality Exhibition
Artist: Porramet Jittaksa
Curators: Haisang Javanalikhikara (DFA) and Piroonmas Kajorndechakul
Exhibition date: 29 March to 30 April 2021
Online exhibition click HERE
Virtual Online Tours with Artist and Curator click HERE
Every city has many small, urban communities that are very different from suburban and rural communities. In his book about rural/suburban communities, Pairat Decharin wrote from that cummunity comes together from three constituent perspectives: geography, people, and interaction. When it comes to urban communities, these three components might not be comparable with rural ones as stated. When it comes to rural communities, these three components might not be comparable with urban ones. In suburban and rural communities, people’s lives are dependent upon natural resources, which influences how they make their living and local culture, such as beliefs and rituals. However, with urban communities, people are not tied to just the area they live in but to the whole city. People who live in one area do not necessarily work there, and people in the same community may not share any common interests at all.
Bangkok has been the capital city of Thailand since 1782 and it has grown rapidly without proper urban planning; because of that, communities in a city like Bangkok do not develop at the same pace as the expansion of the city. In a cosmopolitan city such as Bangkok, there are many areas and communities that are underdeveloped and over-populated.
Samyan is an area in which people of Chinese ancestry have been living for more than 60 years. It can be called a “community”, as people have lived, grown, and worked there for several generations; they share a mutual historical and cultural background. Unlike other communities, Samyan is owned by Chulalongkorn University, meaning all citizens there do not own the properties they live or work in. Hence, as the area is developed, rents have risen so that they are unaffordable for some households and businesses.
We’re not saying this development reflects evil capitalism. It was necessary and it has been a successful transformation. The area has become safer,and was even named one of ‘the world’s coolest neighbourhoods’ in 2020. However, transformation is a double-edged sword. People who want to continue their businesses and lives there have to improve themselves in line with their surroundings, but some have had to move out. Is this sad? Yes, it is. But we’re also not saying people who left failed to advance their business or to upgrade.
The artist who created The House on Trapezoid Land – A Visual Unreality Exhibition, Porramet Jittaksa, is an alumnus of the Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University. He lived in the Samyan community for more than 20 years and eventually relocated elsewhere. He has seen and experienced the development of Samyan at first hand - its ups and downs, its good and ugly sides. For this artwork, Jittaksa takes us on a trip down memory lane to a stylized house in Samyan, located on land shaped like a ‘trapezoid’. This six-story house with a roof-top, combines elements of truth and dreams into the artist’s vision.
At first glance, this work may seem personal, and yet it digs down deeper into the contemporary sphere. It describes a small community such Samyan and how its development affects the lives of its residents as individuals and then compares this with Bangkok as a metropolitan space. Additionally, House on Trapezoid Land – A Visual Unreality Exhibition uses the idea of ‘utopia’. Utopia presented here is not purely from the artist’s imagination but rather from the happy memories the artist once had. From the curators’ perspective, this is the concept of utopia in many people’s minds - it’s constructed individually rather than from any common abstraction.
Why Samyan?
The House on Trapezoid Land – A Visual Unreality Exhibition was initiated and organised by FAAMAI (Faculty of Fine and Applied Arts Multidisciplinary Art Innovation Center) which underscores the association of Samyan with this project. FAAMAI has an innovative geodesic dome space for exhibitions and events in Samyan, so Porramet Jittaksa’s exhibition and his interdisciplinary approach is timely as it looks at the Samyan district and its relation to Chula – this is an important core objective of FAAMAI.
The virtual unreality exhibition is a term the curatorial team uses for this exhibition, as an expansion of VR (virtual reality) exhibitions that have become more popular due to the rise of digital technology), especially during the COVID-19 pandemic. While VR exhibitions tend to represent things as real as possibly, this virtual unreality exhibition hopes to expose people to imagination, constructed digitally, which can take audiences to unfamiliarity and distortion. As the exhibition participant moves from room to room, the experience might be like being pulled into some sort of video game, but with sounds and some truth. So many questions are left unsaid.
About Artist
Porramet Jittaksa (Bangkok, Thailand) is graduated from the Faculty of Fine and Applied Arts at Chulalongkorn University in photography. He won the Young Thai Artist Award 2018 from the SCG Foundation Project. Also, he is a finalist who has been selected to exhibit his work internationally Singapore Young Talent Program 2019 Exhibition at Affordable Art Fair Singapore. Porramet exhibit his work in Thailand and the international level. Currently, Porramet teaches a wide variety of arts to educational institutions in Bangkok. He still works in contemporary art concerning the present time.