โลกเสมือนลวงตา
Virtual reality โลกเสมือนลวงตา หรือการสร้างภาพความจริงเสมือน VR ที่ประสบการณ์จำลองที่อาจคล้าย หรือแตกต่างจากโลกแห่งความจริง ซึ่งสนับสนุนทั้งในด้านความบันเทิง (เช่นวิดีโอเกม) และการศึกษา (เช่นการฝึกทางการแพทย์ หรือการทหาร) เทคโนโลยีรูปแบบ VR อื่นๆ ที่แตกต่างกันได้แก่ ความเป็นจริงเสริม และความจริงแบบผสมผสาน ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ความเป็นจริงแบบขยาย
ความเป็นจริงเสมือน (VR) คือทัศนียภาพรอบทิศทางที่สร้างขึ้นโดยคอมพิวเตอร์ จำลองและถ่ายทอดความรู้สึกและประสบการณ์ดั่งอยู่ในโลกเสมือนจริง การรับชมความเป็นจริงเสมือนจำเป็นต้องมีอุปกรณ์รับชมซึ่งรับสัญญาณมาจากคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีฮาร์ดแวร์ที่ป้อนตรงต่อประสาทสัมผัสด้านการมองเห็นที่เรียกว่า "จอแสดงผลแบบสวมศีรษะ" (Head-Mounted Display, HMD) ให้ตาทั้งสองได้เห็นภาพเป็นสามมิติจากจอภาพขนาดเล็ก และเมื่อผู้ใช้เคลื่อนไหว ภาพก็จะถูกสร้างให้รับกับความเคลื่อนไหวนั้น บางกรณีก็จะหูฟังให้ได้ยินเสียงรอบทิศทาง และอาจมีถุงมือรับข้อมูล (data glove) หรืออุปกรณ์อื่นที่จะทำให้ผู้ใช้โต้ตอบกับสิ่งแวดล้อมจำลองที่ตนเข้าไปอยู่
ระบบความเป็นจริงเสมือนสามารถตอบโจทย์ความต้องการของนักธุรกิจบางส่วนได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถดัดแปลงไปใช้ในงานหลาย ๆ ด้าน เช่น งานด้านสารสนเทศ อาศัยความจริงเสมือน เพื่อเรียกให้ผู้คนมาสนใจด้านสารสนเทศ กระตุ้นประสาทสัมผัสของมนุษย์ให้รับรู้และเข้าใจได้ง่าย ซึ่งเป็นผลดีต่อมนุษย์ที่รับรู้ได้รวดเร็วและง่ายต่อการจดจำ
ปรเมษฐ์ จิตทักษะ ศิลปินไทยที่กำลังมีนิทรรศการออนไลน์ แสร้งเสมือนจริง บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่รูปสี่เหลี่ยมคางหมู เป็นการริเริ่มสร้างสรรค์โดยการร่วมมือกันระหว่างศิลปิน และศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล (FAAMAI) ซึ่งเป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์ของสามย่านกับการพัฒนาชุมชน โดยในโครงการนี้ FAAMAI มีพื้นที่โดมรูปทรงเรขาคณิตที่เป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการจัดนิทรรศการและกิจกรรมต่าง ๆ ในสามย่าน สำหรับงานศิลปะชิ้นนี้ ปรเมษฐ์ จิตทักษะ จะพาทุกคนเดินย้อนกลับไปตามเส้นทางแห่งกาลเวลา สู่บ้านที่ได้รับการปรับแต่งในสามย่านซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินที่มีรูปทรงเหมือนสี่เหลี่ยมคางหมู บ้านหกชั้นหลังนี้มีความผสมผสานองค์ประกอบของความจริงและความฝัน สู่มุมมองและการนำเสนอของศิลปิน นอกจากนี้ยังใช้แนวคิดของ “ดินแดนที่สมบูรณ์แบบ (Utopia)” ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานที่ไม่ได้มาจากจินตนาการของศิลปินอย่างเดียว แต่เกิดจากความทรงจำอันแสนสุขที่ครั้งหนึ่งศิลปินเคยมี จากมุมมองของภัณฑารักษ์นี่คือแนวคิดของดินแดนในอุดมคติในความคิดของคนจำนวนมากซึ่งเป็นเอกเทศเฉพาะบุคคล หาใช่แนวความคิดส่วนรวม นิทรรศการแสร้งเสมือนจริงนี้นำเสนอมุมมองและเปิดโอกาสให้สู่จินตนาการ สร้างสรรค์ผ่านกระบวนการทางดิจิทัล ซึ่งนำพาผู้ชมไปสู่ความไม่คุ้นเคยและการบิดเบือน เมื่อเข้าไปสู่นิทรรศการ จากห้องหนึ่งสู่ห้องหนึ่ง ประสบการณ์อาจจะคล้าย ๆ ถูกดึงไปสู่เกมแต่มีองค์ประกอบของเสียงและภาพแห่งความจริงสอดแทรกอยู่ ก่อให้เกิดคำถามมากมายขึ้น
บทความโดย : พิมพ์ปวีณ สุนทรธรรมรัต
ดูรายละเอียดนิทรรศการเพิ่มเติม ที่นี่