
“พลาสติกจะกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในตำรับอาหารลูกหลานของเรา”
“Plastic will be the main ingredient of our children’s recipes.”
อันโธนี่ ที ฮิกส์ / Anthony T. Hincks
นิทรรศการพลาสติกซี
ศิลปิน วิทยา จันมา
ภัณฑารักษ์ ให้แสง ชวนะลิขิกร
จัดแสดงวันที่ 3 - 11 กรกฏาคม 2564
สถานที่ Art4C, Gallery and Creative Learning Space
จัดโดย: โครงการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ข้อมูลนิทรรศการเพิ่มเติม: Plastic_Sea_Catalogue
นิทรรศการพลาสติกซี โดยวิทยา จันมา ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์อย่าง Google Arts & Culture
*กรุณาติดต่อนัดหมายเพื่อเข้าชมล่วงหน้าผ่านทาง contact.cuart4c@gmail.com
เมื่อนึกถึงปัญหาสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนของพลาสติกเป็นปัญหาลำดับต้นที่โลกใบนี้ประสบอยู่ ถึงแม้ว่าผู้คนตระหนักถึงปัญหาของการใช้พลาสติกมหาศาล แต่ไม่มีท่าที่ว่าปัญหาดังกล่าวจะถูกแก้ไขในอนาคตอันใกล้ ด้วยสังคมบริโภคนิยมที่พวกเราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ทุก ๆ วัน ทุก ๆ เทคโนโลยีผ่านไปอย่างรวดเร็ว พลาสติกคือสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นและอยู่ในแทบทุกสิ่งที่เราจับต้อง จากแปรงสีฟัน ถึงเสื้อผ้า เครื่องใช้ในครัว อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แม้แต่ยาทาเล็บหรือกากเพชรในครีมบำรุงผิว และก็จริงอยู่ที่เมื่อคนคิดถึงขยะพลาสติกอาจจะไม่เห็นว่าเป็นปัญหาที่ร้ายแรงเนื่องจากสามารถรีไซเคิลได้ แต่ในความเป็นจริงอย่างที่ชาร์ลส เจ มัวร์ กล่าวไว้ว่า “สังคมใช้แล้วทิ้งไม่สามารถยับยั้งได้ มันถ้วนทั่วโลก เราไม่สามารถเก็บและรักษาหรือรีไซเคิลของเราทุกอย่างได้” การเดินทางของพลาสติกเป็นไปได้ว่าส่วนหรือจะถูกชะไปสู่ทะเล ชิ้นส่วนของพลาสติกกลายเป็นชิ้นเล็ก ๆ จนเป็นไมโครพลาสติก กระจายอยู่ทั่วมหาสมุทร ผ่านสัตว์ ทะเล หรือน้ำสู่ร่างกายของเรา
การสร้างงานศิลปะหรือนิทรรศการศิลปะบางครั้งได้ก่อให้เกิดขยะสิ้นเปลืองและสิ่งปนเปื้อน และด้วยประการนี้เอง นิทรรศการพลาสติกเห็นว่าด้วยเทคโนโลยีที่เรามีทุกวันนี้ เราสามารถเผนแพร่การตระหนักเชิงสร้างสรรค์ในปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยที่ไม่สร้างขยะพลาสติกเพิ่ม ดังนั้น พลาสติกซี จึงถูกรังสรรค์เพื่อเพิ่มพูนการตระหนักรู้ของการใช้พลาสติกที่มหาศาลโดยที่ไม่สร้างขยะย่อยสลายไม่ได้ในกระบวนการผลิต
ผลงานชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของขยะพลาสติกในทะเลโดยที่ไม่จำเป็นต้องแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของการปนเปื้อนพลาสติก แต่นำพาความคิดของคนให้จินตภาพถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมในทันที วิทยา จันมาคือหนึ่งในศิลปินแนวหน้าในด้านศิลปะสื่อใหม่ ผู้ซึ่งทำงานที่รวมการทำงานศิลปะจัดวางปฏิสัมพันธ์ (interactive installation) กับ การแสดงข้อมูลเป็นภาพ (data visualisation) มาหลายปี สำหรับ พลาสติกซี วิทยาใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อเสนอการเพิ่มขึ้นที่มากมายอย่างน่าตกใจของพลาสติกในทะเลประเทศไทย ผู้ชมสามารถปฏิสัมพันธ์กับผลงานได้โดยใส่แคปซูลซึ่งมีขยะพลาสติกในถังน้ำที่เตรียมไว้ ในแต่ละแคปซูลจะมีขยะพลาสติกที่อยู่ในชีวิตประจำวันของทุกคน และในทะเล เมื่อแคปซูลที่มีขยะอยู่ถูกทิ้งลงไปในถังน้ำ จากน้ำที่นิ่งสนิทจะเริ่มขยับเป็นน้ำวน ยิ่งน้ำวนแรงเท่าไหร่ บ่งบอกถึงความปริมาณที่มากของพลาสติกประเภทนั้นในทะเล ระหว่างที่น้ำวนทำงานอยู่นั้น จะมีตัวเลขสองชุดเกิดขึ้น ตัวเลขหนึ่งคือสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของพลาสติกประเภทนั้นต่อสัดส่วนพลาสติกทั้งหมดในทะเล และอีกเลขคือปีที่แสดงผลสัดส่วนนั้น ๆ และทุก ๆ ครั้งที่แคปซูลถูกทิ้งลงไปในถึงน้ำ ข้อมูลชุดใหม่จะสุ่มแสดงขึ้นมา
การที่ได้ปฏิสัมพันธ์กับงาน และการแสดงออกทางการมองที่เรียบง่าย พลาสติกซี สามารถคว้าความสนใจของคนชมงานและเชื่อมต่อในสิ่งที่เห็นกับการกระทำของเขาที่มีต่ออิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม
เงื่อนไขการเข้าชมนิทรรศการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไวรัส COVID - 19
1. กรุณาติดต่อนัดหมายเพื่อเข้าชมล่วงหน้าผ่านทาง contact.cuart4c@gmail.com และมาก่อนเวลาเล็กน่อบหากมาช้าทางเราขออนุญาตปล่อยคิวให้ผู้ชมท่านอื่น
2. ห้องนิทรรศการจำกัดจำนวนผู้เข้าชมโดยแบ่งเป็นรอบ รอบละไม่เกิน 6 คน เริ่มรอบแรก 10.30 - 11.00 น. รอบละ 30 นาที จนถึงรอบสุดท้ายเวลา 17.00 - 17.30 น.
3. แม้ว่าผลงานเป็น Interactive Installation คือผู้เข้าชมสามารถมีส่วนร่วมกับผลงานได้ ทั้งนี้ทางเราขออนุญาตให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้สาธิตการทำงานของผลงาน แทนผู้เข้าชม เพื่อลดการสัมผัส
4. สวมหน้ากากอนามัยตลอดชมนิทรรศการ และรักษาระยะห่างจากผู้ชมท่านอื่น
ประวัติศิลปิน
วิทยา จันมา ศิลปินแนว interactive installation ผู้ได้รับรางวัลพิเศษ The Next STEAM Special Prize 2019 จาก YouFab Global Creative Awards 2019 เมืองโตเกียวประเทศญี่ปุ่น และ รางวัลเหรียญเงิน The Silver Award โหมด Media Art Category จาก the 25th ifva Awards ฮ่องกง จากผลงาน Life/Time
วิทยา จันมา เรียนจบศิลปบัณฑิต คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สนใจวิธีการสร้างผลงานศิลปะที่แตกต่างไปจากรูปแบบเดิม อีกทั้ง ยังทดลองใช้ศาสตร์ และความรู้แขนงต่าง ๆ มาผสมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงานออกมา ศิลปินเลือกเทคโนโลยีเป็นองค์ประกอบสําคัญในการสร้างผลงานเพราะมันถูกพัฒนามาจากการเฝ้าสังเกต หรือพยายามเลียนแบบธรรมชาติ เทคโนโลยีส่วนใหญ่มักถูกสร้างมาเพื่อช่วยหรืออํานวยความสะดวกให้กับมนุษย์ แต่ถ้าเรามองมันในมุมอื่น นํามันไปทําหน้าที่ใหม่ที่ต่างออกไป ให้มันสื่อสารเรื่องราวอื่น ๆ หรือเป็นส่วนขยายในการแสดงความรู้สึกของมนุษย์ในรูปแบบของผลงานศิลปะ การนําเทคโนโลยีมาใช้จึงอาจทําให้เกิดผลงานรูปแบบใหม่ขึ้น ยิ่งถ้าผู้ชมได้มีปฏิสัมพันธ์กับผลงาน จะทําให้ตัวผลงานเองสื่อสารถึงวัตถุประสงค์ได้ชัดเจนมากขึ้น ปัจจุบันวิทยา จันมาพำนักที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ประวัติภัณฑารักษ์
ให้แสง ชวนะลิขิกร (เกิด 2530 กรุงเทพฯ) อาศัยและทำงานในกรุงเทพฯ ประเทศไทย
หลังจากสำเร็จการศึกษาปริญญาตรี BA Media Arts จาก Royal Holloway, University of London ต่อด้วยปริญญาโท MLitt Modern and Contemporary Art ในการเรียนรู้เชิงภัณฑารักษ์จาก Christie’s Education, University of Glasgow ให้แสงได้กลับมาเริ่มทำงานในวงการศิลปะของประเทศไทยเริ่มจากช่วยงานวิจัยพ่อของเธอ รองศาสตราจารย์ เกศ ชวนะลิขิกร เกี่ยวกับศิลปะนามธรรม และเป็นผู้จัดการส่วนตัวของศิลปินจากนั้นเป็นต้นมา เริ่มต้นปีพ.ศ. 2555 ให้แสงได้เริ่มทำงานที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครด้วยตำแหน่งผู้ประสานงานเครือข่าย ต่อมาด้วยตำแหน่งผู้จัดการโครงการและผู้ช่วยภัณฑารักษ์ โดยเป็นระยะเวลาเกือบ 2 ปีที่เป็นพนักงานประจำ รายโครงการจนกระทั่งปี 2561 พร้อมกับเป็นอาจารย์พิเศษในหลายมหาวิทยาลัย
ในปีเดียวกันคือ 2561 ให้แสงสำเร็จการศึกษาศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัญฑิตจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเริ่มกลางปี 2562 ได้บรรจุเป็นอาจารย์ประจำที่คณะดังกล่าว นอกจากนั้น เธอยังได้รับตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการแกลเลอรีและพื้นที่เรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ Art4C ให้แสงก่อตั้งและเป็นบรรณาธิการนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์มัลติมีเดีย Teleaesthetics (teleaesthetics.net) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดุษฎีนิพนธ์ บางโอกาส เธอได้รับมอบหมายในการเป็นภัณฑารักษ์อิสระในทางศิลปะและวัฒนธรรม
กิจกรรมเสวนาออนไลน์หัวข้อ "สถิติพลาสติกในทะเลบอกอะไร ทิศทางการอนุรักษ์ และผลงานศิลปะพลาสติกซี"
วันเสาร์ที่ 3 เวลา 15.00 - 17.00 น. ผ่านทาง Facebook Live ของ FAAMAI Digital Arts Hub เสวนาเป็นภาษาไทย
นำเสวนาโดย ชณัฐ วุฒิวิกัยการ
วิทยากรร่วม:
พรศรี สุทธนารักษ์ (รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง)
วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล (นักสิ่งแวดล้อม)
วิทยา จันมา (ศิลปินนิทรรศการพลาสติกซี)
รับชมย้อนหลังได้ ที่นี่